สมัครสมาชิกเพื่อลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดินฟรี

เมื่อมรดกมีแต่หนี้สินจะทำยังไง

        ลองคิดดูสิครับ ว่าถ้าวันนึงเราได้รับมรดก เป็นหนี้สินจำนวนมหาศาล โดยที่เราไม่ได้ก่อขึ้นมาจะทำยังไง มาดูกันว่ากฏหมายบัญญัติเรื่องนี้ไว้ยังไง

        หนี้สินของคนตาย หรือหนี้สินของเจ้ามรดกนั้น กฎหมายก็ถือว่าเป็นมรดกอย่างหนึ่งของคนตาย ที่จะตกทอดไปยังทายาทของตัวเองตามกฎหมาย ดังนั้นใครเป็นทายาทก็ต้องรับเอาหนี้สินนั้นมา แล้วก็ชดใช้หนี้นั้นแทนผู้ตายหรือเจ้ามรดกด้วย แต่ว่าหากให้ทายาทรับผิดชอบหนี้สินตรงนี้ทั้งหมด โดยที่ทายาทได้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินมาเพียงสี่ซ้าห้าหมื่นหรือไม่มีเลย แต่กลับต้องมารับผิดชอบชำระหนี้แทนคนตายเป็นล้านๆ อย่างนี้ก็คงไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน
        กรณีอย่างนี้ กฎหมายก็ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ เพื่อแก้ปัญหา โดยบอกว่า ทายาทจะต้องรับเอาหนี้ของผู้ตายหรือของเจ้ามรดกนั้นไปด้วย แต่ทายาทไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้น เกินไปกว่าทรัพย์มรดกที่ตัวเองได้รับมา กล่าวคือ ถ้าทายาทได้รับมรดกมาเท่าไหร่ ก็จ่ายชำระหนี้ไปเท่านั้น หากชำระหนี้แล้วไม่พอใช้หนี้ของคนตาย เจ้าหนี้ก็ซวยไป เพราะทายาทไม่ต้องรับผิดชอบอีก แต่หากทายาทชำระหนี้ไปแล้ว ทรัพย์มรดกยังเหลือ อย่างนี้ทายาทก็เก็บเอาไปได้ แต่ถ้าผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอะไรเลย นอกจากหนี้กับหนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ทายาทก็ไม่ต้องไปรับผิดชอบอะไรในหนี้สินนั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก chawbanlaw.com

แก้ไขเมื่อ : 20 ก.พ. 2558 15:09     ดู 1,573 ครั้ง



คู่มืออื่นเกี่ยวกับ กฏหมายอสังหาริมทรัพย์
การเวนคืนกับการประเมินค่าทรัพย์สิน
การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์ในราชการของส่วนราชการต่างๆ มักมีเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เพราะทางราชการยังไม่จ่ายค่าทดแทนให้หรือจ่ายให้ล่าช้า เป็นเหตุให้มีกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เสมอตลอดมา
ถ้ามีคนหายสาบสูญไป ธุรกิจหรือทรัพย์สินจะทำอย่างไรล่ะ
เมื่อมีคนหายออกไปจากบ้าน หรือออกไปจากบ้านของเราเอง ไม่ว่าจะออกไปทำงาน หรือออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ แล้วจากนั้นก็หายไปเลยโดยไม่มีใครพบเห็นอีก ที่ร้ายไปกว่านั้นคนที่อยู่ข้างหลังก็คอยเป็นห่วงเพราะไม่รู้ว่าคนที่หายไปนั้นมีชีวิตอยู่ หรือว่าตายไปแล้ว อย่างนี้ก็ยุ่งละครับ
จำทำยังไง ถ้าซื้อที่ดินแล้วได้ที่ดินเนื้อที่ไม่ครบตามสัญญา
การจะซื้อที่ดิน นอกจากจะดูสภาพของที่ดินแปลงนั้นว่ามีสภาพ ทำเลของที่ดินดีหรือไม่แล้ว ยังต้องทำการตรวจสอบเนื้อที่ดิน จากโฉนดที่ดิน หรือหนังสือ น.ส.3 แปลงนั้นด้วยว่ามีการระบุเนื้อที่เอาไว้เท่าไหร่ แต่การตรวจสอบแค่นี้ยังไม่พอนะครับ ยังจะต้องทำการตรวจสอบจากเนื้อที่ดินจริง
สัญญาการขายฝาก
“ขายฝาก” เป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านนิยม ทำกัน การขายฝากนั้น โดยมากที่นิยมทำกันก็จะเป็นการขายฝาก ที่ดิน ส่วนทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้นไม่ค่อยนิยมนำมาขายฝากกันซักเท่าไหร่ เหตุที่นิยมนำที่ดินมาขายฝากนั้น ก็เพราะการขายฝากนั้น เมื่อขาย กันแล้ว ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้หลุดไปเป็นของคนซื้ออย่างเด
สัญญาการกู้ยืมเงินและเงินกู้
การกู้เงิน เป็นเรื่องที่ชาวบ้านชาวช่องโดยทั่วไปนิยมชมชอบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจมันไม่ค่อยจะดี ข้าวของที่จะเอามาจับจ่ายใช้สอบก็ทยอยขึ้นราคา ทำให้ในแต่ละเดือนเงินที่ได้มาก็ไม่พอที่จะใช้จ่าย บางคนที่มีภาระมากก็ชักหน้าไม่ค่อยถึงหลัง สุดท้ายพอไม่ไหวมันก็จำเป็นต้องกู้เงินจากคนอื่นมาใช้สิ
อ่านกฏหมายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด

ผู้สนับสนุน
Facebook