สมัครสมาชิกเพื่อลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดินฟรี

การแจ้งย้ายที่อยู่

สำหรับใครที่จะย้ายที่อยู่ใหม่  อย่าลืมแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบกันด้วยนะครับ มาดูกันครับว่าตามกฏหมาย การแจ้งย้ายที่อยู่ต้องทำอะไร ที่ไหนบ้าง

การแจ้งย้ายออกจากบ้าน
        เมื่อผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านย้ายออกไปจากบ้านที่ตนมีชื่ออยู่ ไม่ว่าจะไปประกอบอาชีพ หรือย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่น จะต้องแจ้งการย้ายออกต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายออกจากบ้าน โดยผู้มีหน้าที่แจ้งย้าย คือ เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนย้ายออก หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้แจ้งการย้ายแทน

สถานที่แจ้งการย้ายที่อยู่
        ถ้าบ้านของคนย้ายออกอยู่ในเขตท้องที่ที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านที่บ้านหลังนั้นตั้งอยู่ โดยผู้ใหญ่บ้านในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งประจำหมู่บ้าน จะรับแจ้งการย้ายที่อยู่ และออกหลักฐานใบรับแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร. ๖ ตอนหน้า) ให้เป็นหลักฐาน เมื่อได้รับใบรับแจ้งการย้ายที่ออยู่แล้ว เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนของอำเภอเพื่อให้ขอออกใบแจ้งย้ายที่อยู่ อย่างไรก็ตามหากเจ้าบ้านสามารถที่จะไปแจ้งการย้ายออกที่งานทะเบียนของที่ว่าการอำเภอได้โดยตรง โดยไม่ต้องทำการแจ้งกับผู้ใหญ่บ้านเลยก็ได้ โดยเมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการย้ายแล้วจะออกแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอน1 และตอน 2 ให้เป็นหลักฐาน เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าบ้านหลังที่ไปอาศัยอยู่ใหม่ได้
        ถ้าบ้านที่คนย้ายออกอยู่ในเขตท้องที่เทศบาล สามารถไปแจ้งการย้ายออกที่งานทะเบียนในสำนักงานเขตเทศบาลนั้นได้ กรณีนี้จะไม่มีหลักฐานใบรับแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. ๖ ตอนหน้า)
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือของผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2. บัตรประจำตัวของคนที่ย้ายออก
3. ใบรับแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. ๖ ตอนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ (ถ้ามี)
4. สำเนาทะเบียนบ้านที่คนย้ายออกมีชื่ออยู่

การแจ้งย้ายเข้าอยู่ในบ้าน
        เมื่อมีคนย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน จะต้องแจ้งการย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 151 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นเข้ามาอยู่ในบ้าน โดยผู้มีหน้าที่แจ้งการย้ายเข้าคือ เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนย้ายเข้า หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้แจ้งการย้ายแทน
สถานที่แจ้งการย้ายที่อยู่
        ถ้าบ้านที่ย้ายเข้าอยู่ในเขตท้องที่เทศบาล ก็ให้ไปแจ้งย้ายเข้าที่งานทะเบียนในสำนักงานทะเบียนของเทศบาลนั้น
ถ้าบ้านที่ย้ายเข้าอยู่นอกเขตเทศบาล ก็ให้ไปแจ้งยังงานทะเบียนของที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่ตั้งอยู่นั้น
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2. บัตรประจำตัวประชาชนของคนที่ย้ายเข้า (ถ้ามี)
3.ใบรับแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ที่ได้มาจากการแจ้งย้ายออก
4. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะย้ายชื่อเข้าไปอยู่ใหม่
        การไม่แจ้งย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคนย้ายออกจากบ้าน และการไม่แจ้งย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคนเข้ามาอยู่อาศัยภายในบ้าน เป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
        เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านซึ่งตั้งอยู่ต่างท้องที่กับบ้านที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยผู้ย้ายที่อยู่ไม่ต้องกลับไปแจ้งการย้ายออก ณ สำนักทะเบียนที่บ้านเดิมตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ผู้ย้ายที่อยู่สามารถยื่นคำร้องขอแจ้งการย้ายออกและย้ายเข้าในคราวเดียวกันได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล ซึ่งบ้านที่จะย้ายเข้าไปอยู่อาศัยนั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ เรียกว่าการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
2. บัตรประจำตัวของผู้ที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน
3. หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าบ้านที่อนุญาตให้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน
4. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่

การแจ้งย้ายที่อยู่ของคนที่ไปต่างประเทศ
        เมื่อคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อไปประกอบอาชีพ หรือไปอยู่อาศัยเป็นเวลานาน หรือไปศึกษาเล่าเรียน จะต้องแจ้งย้ายออกโดยผู้มีหน้าที่แจ้งย้ายได้แก่ เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนไปต่างประเทศ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้แจ้งการย้ายแทน และเมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการย้ายแล้ว จะเพิ่มชื่อคนที่ย้ายออกนั้นไว้ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ เมื่อบุคคลดังกล่าวเนทางกลับประเทศไทย ก็สามารถขอแจ้งย้ายชื่อกลับไปเข้าทะเบียนบ้านตามเดิมได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน หรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบหมายให้ไปแจ้งแทน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่คนไปต่างประเทศมีชื่ออยู่
3. หลักฐานการเดินทางไปต่างประเทศของคนที่จะย้ายออก (ถ้ามี)

การแจ้งย้ายที่อยู่ของคนที่ออกไปจากบ้านเป็นเวลานานและไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด
        ถ้าคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน โดยที่เจ้าบ้านและบุคคลในบ้านไม่รู้ว่าไปอยู่อาศัยอยู่ที่ใด มีชีวิตอยู่หรือไม่ จะต้องแจ้งย้ายบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้านภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกจากบ้านไปครบ 180 วัน โดยผู้มีหน้าที่แจ้งย้ายได้แก่ เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนย้ายออก หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้แจ้งการย้ายแทน และเมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการย้ายออกแล้วจะเพิ่มชื่อคนที่ออกไปจากบ้านเป็นเวลานานไว้ในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน ถ้าบุคคลนั้นปรากฏตัวขึ้นภายหลัง ก็สามารถขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้าบ้านที่อาศัยอยู่จริงได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือของผู้ที่เจ้าบ้านมอบหมายให้ไปแจ้งแทน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่คนออกไปจากบ้านมีชื่ออยู่
3. หลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ออกไปจากบ้าน เช่น สำเนาบัตรประจำตัว เป็นต้น (ถ้ามี)

ที่มา : คู่มืองานทะเบียน กรมการปกครอง

แก้ไขเมื่อ : 31 พ.ค. 2557 00:16     ดู 922 ครั้ง



คู่มืออื่นเกี่ยวกับ กฏหมายอสังหาริมทรัพย์
การเวนคืนกับการประเมินค่าทรัพย์สิน
การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์ในราชการของส่วนราชการต่างๆ มักมีเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน เพราะทางราชการยังไม่จ่ายค่าทดแทนให้หรือจ่ายให้ล่าช้า เป็นเหตุให้มีกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เสมอตลอดมา
ถ้ามีคนหายสาบสูญไป ธุรกิจหรือทรัพย์สินจะทำอย่างไรล่ะ
เมื่อมีคนหายออกไปจากบ้าน หรือออกไปจากบ้านของเราเอง ไม่ว่าจะออกไปทำงาน หรือออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ แล้วจากนั้นก็หายไปเลยโดยไม่มีใครพบเห็นอีก ที่ร้ายไปกว่านั้นคนที่อยู่ข้างหลังก็คอยเป็นห่วงเพราะไม่รู้ว่าคนที่หายไปนั้นมีชีวิตอยู่ หรือว่าตายไปแล้ว อย่างนี้ก็ยุ่งละครับ
จำทำยังไง ถ้าซื้อที่ดินแล้วได้ที่ดินเนื้อที่ไม่ครบตามสัญญา
การจะซื้อที่ดิน นอกจากจะดูสภาพของที่ดินแปลงนั้นว่ามีสภาพ ทำเลของที่ดินดีหรือไม่แล้ว ยังต้องทำการตรวจสอบเนื้อที่ดิน จากโฉนดที่ดิน หรือหนังสือ น.ส.3 แปลงนั้นด้วยว่ามีการระบุเนื้อที่เอาไว้เท่าไหร่ แต่การตรวจสอบแค่นี้ยังไม่พอนะครับ ยังจะต้องทำการตรวจสอบจากเนื้อที่ดินจริง
สัญญาการขายฝาก
“ขายฝาก” เป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านนิยม ทำกัน การขายฝากนั้น โดยมากที่นิยมทำกันก็จะเป็นการขายฝาก ที่ดิน ส่วนทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้นไม่ค่อยนิยมนำมาขายฝากกันซักเท่าไหร่ เหตุที่นิยมนำที่ดินมาขายฝากนั้น ก็เพราะการขายฝากนั้น เมื่อขาย กันแล้ว ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้หลุดไปเป็นของคนซื้ออย่างเด
สัญญาการกู้ยืมเงินและเงินกู้
การกู้เงิน เป็นเรื่องที่ชาวบ้านชาวช่องโดยทั่วไปนิยมชมชอบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจมันไม่ค่อยจะดี ข้าวของที่จะเอามาจับจ่ายใช้สอบก็ทยอยขึ้นราคา ทำให้ในแต่ละเดือนเงินที่ได้มาก็ไม่พอที่จะใช้จ่าย บางคนที่มีภาระมากก็ชักหน้าไม่ค่อยถึงหลัง สุดท้ายพอไม่ไหวมันก็จำเป็นต้องกู้เงินจากคนอื่นมาใช้สิ
อ่านกฏหมายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด

ผู้สนับสนุน
Facebook