สมัครสมาชิกเพื่อลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดินฟรี

อัพเดตข่าว รถไฟฟ้าสีชมพู ล่าสุดปลายปีนี้ 2560 เริ่มสร้างแน่นอน

อัพเดตข่าว รถไฟฟ้าสีชมพูกันหน่อยครับ ล่าสุดปลายปีนี้ 2560 กำลังจะเริ่มดำเนินการสร้างแล้ว พี่น้องประชาชนตามเส้นทางเตรียมตัว วางแผนการเดินทางได้เลย

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)และ ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการว่า รฟม. เตรียมที่จะดำเนินงานเข็มทดสอบ เพื่อทดสอบการรองรับน้ำหนักของเสาเข็ม และดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เพื่อเตรียมพื้นที่ในการก่อสร้าง จึงมีความจำเป็นต้องทยอยปิดผิวจรจาในบริเวณพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มปิดถนนตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย.เป็นต้นไป นำร่องบริเวณถนนติวานนท์

การเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูล่าช้ากว่าแผนแล้ว 3 เดือน เนื่องจากผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เพราะเกิดความขัดแย้งกับประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ ครม.แก้ไขปัญหาด้วยการอนุมัติให้มีการออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เร่งด่วน เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ คาดว่าประกาศจะมีผลบังคับใช้ในเดือนนี้ และคาดว่าผู้รับเหมาจะสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ในเดือนมี.ค. 2561 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี 3 เดือน เปิดให้บริการได้ประมาณกลางปี 2564 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรงนั้นประสบปัญหาเดียวกัน ทำให้งานก่อสร้างล่าช้าไป 3 เดือนเช่นกัน โดยขณะนี้ ครม. แก้ปัญหาให้ทั้งหมดแล้ว คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ช่วงไตรมาส1 ของปี 2561

พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) ด้านจราจรเปิดเผยถึงแนวทางการปิดผิวจราจรเพื่อเตรียมการก่อสร้างว่า จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ งานเข็มทดสอบและงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค สำหรับงานทดสอบเข็มนั้น เบื้องต้นจะปิดเบี่ยงจราจร 2 จุด คือ

จุดที่ 1.บริเวณถนนติวานนท์ บริเวณคลองบางตลาด รวมระยะทาง 210 เมตร โดยจะปิดผิวจราจร 1 ช่องทาง ขาเข้า-ออก (ชิดเกาะกลาง)ตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ 20 พ.ย.60 – 28ก.พ. 61 (3เดือน) และหลังจากเริ่มปิดผิวจราจรเกาะกลางไปแล้ว2สัปดาห์จะปิดผิวจราจาขาออกเพิ่มอีก1ช่องทาง เฉพาะช่วงเวลา 22.00น – 04.00น เท่านั้น

จุดที่ 2 ปิดเบี่ยงจราจรบริเวณถนนรามอินทราตรงข้ามสถานีตำรวจทางหลวง 2 กองบังคับการ 8 (ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่น ไอซ์แลนด์) รวมระยะทาง 200 เมตร ปิดเกาะกลางถนน ตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ 1 ธ.ค.2560 – 15 มี.ค.2561 และหลังจากเริ่มปิดเกาะกลางแล้ว 2 สัปดาห์ จะปิดผิวจราจรขาเข้าเพิ่มอีก 1 ช่องทาง แต่จะปิดเฉพาะช่วงเวลา 22.00น.-04.00น. เท่านั้น

พล.ต.ต.จิรพัฒน์ กล่าวต่อว่าสำหรับ งานรื้อย้ายสาธารณูปโภคจำเป็นต้องปิดผิวจราจร 4 จุด เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.2560 – 25 พ.ย.2561 (1ปี) คือ จุดที่ 1 ตั้งแต่เชิงสะพานพระราม4-เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ จะปิดผิวจราจร 1 ช่องทาง ขาออก(ชิดเกาะกลาง)มุ่งหน้ามีนบุรี ตลอด 24ชั่วโมง และจะปิดผิวจรจาขาออกเพิ่มอีก 1 ช่องทาง ในช่วงเวลา 22.00-04.00น. หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ก่อสร้างเข้าพื้นที่

จุดที่2 ตั้งแต่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ-ทีโอที โดยจะปิดผิวจราจร 1 ช่องทาง ขาออก(ชิดเกาะกลาง)มุ่งหน้ามีนบุรี ตลอด 24 ชั่วโมง และจะปิดผิวจราจร ขาออกเพิ่มอีก 1 ช่องทางในช่วงเวลา 22.00-04.00น. หากจำเป็น

จุดที่ 3 ตั้งแต่วงเวียนอนุสาวรีย์ฯ-ซอยรามอินทรา83 ปิดผิวจราจร 1 ช่องทาง ขาออก(ชิดเกาะกลาง) มุ่งหน้ามีนบุรี ตลอด 24 ชั่วโมง และจะปิดผิวจราจร ขาออกเพิ่มอีก 1 ช่องทางในช่วงเวลา 22.00-04.00 น.หากจำเป็น

และจุดที่ 4 ตั้งแต่คลองบางชัน-แยกเมืองมีน โดยจะปิดผิวจราจร 1 ช่องทางขาเข้า(ชิดเกาะกลาง) มุ่งหน้ามีนบุรี ตลอด 24 ชั่วโมง และจะปิดผิวจราจร ขาเข้าเพิ่มอีก 1 ช่องทางในช่วงเวลา 22.00-04.00น. หากจำเป็น

“การเริ่มทยอยปิดถนนอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนน โดยถนนติวานนท์นั้น คาดว่าไม่ส่งผลกระทบมากนัก เพราะมีปริมาณรถไม่หนาแน่น ยกเว้นช่วงเช้าและช่วงเย็น แต่สำหรับถนนรามอินทราหากปิดถนนจะเกิดปัญหารถติดติดสะสมได้ จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงเส้นทางนี้ เบื้องต้นได้ประสานกับตำรวจลงพื้นที่เพื่อช่วยเร่งระบายรถในชั่วโมงเร่งด่วน และยังได้ทำข้อตกลงกับรฟม. และผู้รับเหมาก่อสร้างไว้แล้วว่าหากการปิดถนนก่อสร้างส่งผลกระทบต่อการจราจรทำให้ประชาชนเดือดร้อนมากจนเกินไป จะต้องมีการลดผลกระทบด้วยการเพิ่มหรือขยายช่องจราจรให้มากขึ้น รวมทั้งลดพื้นที่งานก่อสร้างลง”รองผบช.น. กล่าว

พล.ต.ต.จิรพัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับถนนรามอินทราที่คาดว่ามีรถติดสะสมนั้นขอแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทาง โดยสามารถใช้ถนนปัญญาอินทรา ถนนเสรีไทย หรือขึ้นทางด่วนอาจณรงค์ – รามอินทรา หน้าศูนย์การค้าแฟชั่น ไอซ์แลนด์ ทดแทนได้ ส่วนกรณีการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภคนั้น เบื้องต้นคาดว่าจะไม่มีการปิดจุดกลับรถในพื้นที่ และเน้นการปิดกั้นเพียงช่องจราจรเท่านั้น

นอกจากนี้ยังจัดเส้นทางสำหรับหลีกเลี่ยงการจราจรไว้หลายเส้นทาง เช่น ถนนติวานนท์ สามารถเลี่ยงเข้าสู่ถนนสามัคคี เพื่อไปยังถนนประชาชื่นหรือถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ดได้ ส่วนถนนแจ้งวัฒนะ สามารถเลี่ยงเข้าซอยแจ้งวัฒนะ 14 เพื่อออกสู่ถนนกำแพงเพชร 6 ด้านถนนพหลโยธิน สามารถเลี่ยงเข้าซอยพหลโยธิน 48 เพื่อออกสู่ถนนรามอินทรา และจากถนนรามอินทรา สามารถเลี้ยวเข้าซอยมัยลาภเพื่อออกสู่ถนนเกษตร-นวมินทร์ หรือเข้าซอยรามอินทรา 39 เพื่อออกสู่ถนนวัชรพลและถนนสุขาภิบาล 5 ได้ ยังสามารถเลี้ยวเข้าถนนปัญญาอินทรา หรือถนนพระยาสุเรนทร์ เพื่อมุ่งหน้าสู่ ถนนหทัยราษฎร์ เป็นต้น

แผนการจัดจราจรดังกล่าว น่าจะช่วยระบายรถออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในอนาคตอาจมีการปรับแผนการจัดจราจรเพิ่มเติม เมื่อมีการปิดถนนจริง เพื่อให้ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน ได้รับความสะดวกมากที่สุด สําหรับประชาชนผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงเส้นทางจราจร ได้ที่ โทรศัพท์ 09 8827 5555

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก ข่าวสด

เส้นทางที่ปิดหรือเบี่ยงมีดังนี้

แก้ไขเมื่อ : 22 พ.ย. 2560 13:12     ดู 725 ครั้ง



คู่มืออื่นเกี่ยวกับ ข่าวอสังหาริมทรัพย์
แสนสิริ ร่วมมือโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช สีโจตัน และ ฮาน โพรดักส์ เปิด Educational Playground at T77
บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โดยนายองอาจ สุวรรณกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม เดินหน้าสานต่อการสร้างสรรค์พื้นที่ที่เป็นมากกว่าสนามเด็กเล่นหรือ Educational Playground ร่วมกับโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช
อัพเดตข่าว รถไฟฟ้าสีชมพู ล่าสุดปลายปีนี้ 2560 เริ่มสร้างแน่นอน
อัพเดตข่าว รถไฟฟ้าสีชมพูกันหน่อยครับ ล่าสุดปลายปีนี้ 2560 กำลังจะเริ่มดำเนินการสร้างแล้ว พี่น้องประชาชนตามเส้นทางเตรียมตัว วางแผนการเดินทางได้เลย
อ่วมรีดภาษีอสังหาแนวรถไฟฟ้า รอบ"สนามบิน-ทางด่วน"โดนหมด
ข่าวด่วน ประเด็นน่าจับตามองช่วงนี้คงเป็นข่าวที่จะเก็บภาษีที่ดิน อสังหาฯโครงการต่างๆในแนวรถไฟฟ้าเพิ่ม ซึ่งมีโอกาสที่ภาระที่เพิ่มขึ้นตรงนี้อาจจะตกไปอยู่ที่ผู้บริโภคก็เป็นได้
ผุดอุโมงค์-รถไฟฟ้า สะพานรัชโยธิน ลบสถิติ “แยกซดน้ำมัน” เริ่มดำเนินการแล้ว
อุโมงค์ทางลอดรัชโยธินเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานแก้ปัญหาจราจรกรุงเทพฯตั้งแต่ปี 2532 ประกอบด้วย แยกบางพลัด ท่าพระ มไหสวรรย์ และรัชโยธิน ซึ่งที่ผ่านมา กทม.ก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดเสร็จแล้ว 3 แห่ง ยังเหลือแยกรัชโยธินที่เพิ่งได้ข้อสรุปจะสร้างปีหน้า
ปลายปี 2559 แล้วมาอัพเดตความคืบหน้าการสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสายกัน
ปลายปี 2559 แล้วมาอัพเดตโครงการรถไฟฟ้ากันว่าแต่ละสาย ได้ดำเนินการสร้างไปถึงขั้นตอนไหนแล้วบ้าง
อ่านข่าวอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด

ผู้สนับสนุน
Facebook